วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ Permanent Cardiac Pacemaker

เครื่องกระตุ้นหัวใจ


   หัวใจของเรา ทำงานบีบตัวได้เพราะมีกลุ่มเซลล์ที่สร้างกระแสไฟฟ้าเป็นจังหวะ 60 - 100 ครั้งต่อนาที และกระแสไฟฟ้าจะเดินทางไปตามเซลล์ของกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้เกิดการบีบตัวเอาเลือดออกไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย หากเกิดความผิดปกติขึ้นที่กลุ่มเซลล์เหล่านี้ หรือมีความผิดปกติของการส่งกระแสไฟฟ้า หัวใจของเราก็จะเต้นผิดปกติ คือ อาจจะเร็วขึ้นหรือช้าลงได้ โดยเฉพาะคนที่อายุมากๆ หากมีอัตราการเต้นของหัวใจช้าลงเพียง 30 - 40 ครั้งต่อนาที หรือมีภาวะหัวใจ เต้นๆ หยุดๆ ซึ่งถ้าหยุดนานเกินกว่า 2.5 วินาที จะมีอาการวูบๆ หน้ามืด หรือ หมดสติได้ อาการเหล่านี้ จะตรวจพบได้ จากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หรือ จากการบันทึก คลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง นับเป็นความก้าวหน้าในวงการแพทย์อย่างยิ่ง ที่ในปัจจุบันนี้ สามารถคิดค้นวิธีการและเครื่องมือ สำหรับการรักษาความผิดปกติของหัวใจชนิดต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งรวมถึงภาวะหัวใจเต้นช้าอย่างผิดปกติด้วย หากเกิดอาการดังกล่าว แพทย์จะแนะนำให้ท่าน ได้รับการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดถาวร หรือ "Permanent Cardiac Pacemaker"

เครื่องกระตุ้นหัวใจ


เครื่องกระตุ้นหัวใจ เป็นเครื่องมือขนาดเล็กๆ กว้างยาวประมาณ 4 - 5 เซนติเมตร หนาประมาณ 1/2 เซนติเมตร ภายในจะประกอบด้วย
  1. ส่วนรับรู้การเต้นของหัวใจ
  2. ส่วนส่งพลังงานไฟฟ้าไปกระตุ้นหัวใจ เมื่อพบว่าหัวใจเต้นช้ากว่าความต้องการของร่างกาย
  3. ส่วนแบตเตอรี่ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักให้พลังงานได้ 5 - 10 ปี แล้วแต่ปริมาณการใช้งาน (มีการกระตุ้นบ่อยครั้งหรือไม่)

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น